วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษinformation technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นคืน ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วยเช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์
มนุษย์จัดเก็บ ค้นคืน จัดดำเนินการ และสื่อสารสารสนเทศมาตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมียโดยชาวซูเมอร์ ซึ่งได้พัฒนาการเขียนเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เทคโนโลยีสารสนเทศ ในความหมายสมัยใหม่ ปรากฏขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1958 ในงานพิมพ์ ฮาร์เวิร์ดบิซเนสรีวิว (Harvard Business Review) ซึ่งเขียนโดย แฮโรลด์ เจ. เลวิตต์ และ โทมัส แอล. วิสเลอร์ โดยให้ความเห็นไว้ว่า "เทคโนโลยีใหม่ยังไม่มีชื่อที่ตั้งขึ้นเป็นสิ่งเดียว เราจะเรียกมันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)" คำจำกัดความของศัพท์นี้ประกอบด้วยเทคโนโลยีสามประเภทได้แก่ เทคนิคเพื่อการประมวลผล การประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อการตัดสินใจ และการจำลองความคิดในระดับที่สูงขึ้นผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์



การเปลี่ยนเป็นสังคมสารสนเทศ ปัจจุบันสังคมโลกกาลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทในการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต การทางานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมถึงก่อให้เกิดสังคมออนไลน์ทั้งเว็บบล็อก (Web Blog) เว็บไซต์วีดิโอออนไลน์ เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นต้น
   การทางานที่ไร้เงื่อนไขของเวลาและสถานที่ เทคโนโลยีสารสนเทศทาให้เกิดสภาพทางการทางานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา โดยการโต้ตอบผ่านระบบเครือข่าย ทาให้ขยายขอบเขตการทางานไปทุกหนทุกแห่งและดาเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
   ระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงทั่วโลก เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจซึ่งเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็น เศรษฐกิจโลก เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเอื้ออานวยให้การดาเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่ง ขึ้น ระบบเศรษฐกิจของโลกจึงผูกพันกับทุกประเทศและเชื่อมโยงกันแนบแน่นขึ้น - เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศได้ถูกนามาประยุกต์ใช้งานใหม่ๆ เช่น ระบบระบุพิกัดบนพื้นโลก (Global Positioning System, GPS) ซึ่ง สามารถกาหนดพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ การสารวจ การเดินทาง และใช้เป็นระบบติดตามรถยนต์ นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีดาวเทียมสารวจระยะไกล (Remote Sensing) ซึ่งนามาประยุกต์ใช้กับการสืบค้นข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมทางอินเทอร์เน็ต เช่น โปรแกรม Google Earth
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8


 เทคโนโลยี ที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

Nexus 7000 เป็น platform switch layer 3 แบบ Module รุ่นล่าสุดจาก Cisco ที่รองรับการขยายงานสำหรับเครือข่ายอีเธอร์เน็ตขนาด 10 กิกะบิตในปริมาณอินเทอร์เฟสจำนวนมาก ด้วยระบบโครงสร้างในการเชื่อมต่อสูงสุด 15 เทราบิตต่อวินาทีในแชสซีเดียวกัน และยังสามารถรองรับการเชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตได้ 40 กิกะบิตต่อวินาทีและสูงสุดถึง 100 กิกะบิตต่อวินาทีสำหรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคตด้วยองค์ประกอบสำคัญของ Nexus 7000 ก็คือซอฟต์แวร์ NX-OS ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานกับระบบ switch layer 2, Protocol routing layer 3 รวมไปถึงเทคโนโลยีเสมือนจริง (virtualization) ขั้นสูงบนระบบปฎิบัติการที่มีเสถียรภาพ โดยมีคุณสมบัติใหม่ๆที่เพิ่มเติมเข้ามา อาทิ สามารถทำการ upgrade ได้โดยไม่ทำให้บริการหยุดชะงัก รองรับแอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่เกิดขึ้นในอนาคตรวมไปถึงความสามารถ context อุปกรณ์แบบ virtual ที่ช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น

เทคโนโลยีที่ฉันสนใจ

อาซิโม


อาซิโม (อังกฤษASIMO) (ญี่ปุ่นアシモ ashimo ?) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรือหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543[1] พัฒนาโดยทีมวิศวกรเยอรมนี โดยพัฒนาจากหุ่นยนต์ทดลองและหุ่นยนต์ต้นแบบจนทำให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เทคโนโลยี i-WALK ช่วยให้อาซิโมสามารถเดินและวิ่งได้อย่างอิสรเสรี ขึ้นบันไดและเต้นรำได้ มีระบบบันทึกเสียงเพื่อตอบสนองคำสั่งของมนุษย์ สามารถจดจำใบหน้าคู่สนทนาได้อย่างแม่นยำ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อให้อาซิโมมีขีดความสามารถรอบด้าน และรองรับความต้องการของมนุษย์ในอนาคต
อาซิโมได้รับการออกแบบให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือการควบคุมระยะไกล ทีมวิศวกรเริ่มต้นคิดค้น พัฒนาศึกษาวิจัยหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 โดยเริ่มจากการสร้างหุ่นยนต์ต้นแบบ พีทู (P2) ในปี พ.ศ. 2539 และต่อด้วยหุ่นยนต์ต้นแบบ พีทรี(P3) ในปี พ.ศ. 2540 จนกระทั่งมาถึงหุ่นยนต์อาซิโมในปี พ.ศ. 2543 ปัจจุบันฮอนด้าได้เปิดโอกาสให้เช่าอาซิโมเพื่อใช้งานในประเทศญี่ปุ่น